วิธีทำความสะอาด"เตียงผู้ป่วย"ให้หอมสะอาดอยู่เสมอ

การทำความสะอาดเตียงผู้ป่วยเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยที่ติดเตียง ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ และสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับผู้ป่วย

วิธีทำความสะอาด"เตียงผู้ป่วย"ให้หอมสะอาดอยู่เสมอ

ขั้นตอนที่ควรทำเพื่อให้เตียงผู้ป่วยหอมสะอาดอยู่เสมอ

1. เปลี่ยนผ้าปูเตียงและผ้าหมอนบ่อยๆ

  • ควรเปลี่ยนผ้าปูเตียงและผ้าหมอนทุก 2-3 วัน หรือตามความเหมาะสม

  • การเปลี่ยนผ้าปูที่นอนช่วยลดการสะสมของเชื้อโรคและรักษาความสะอาดให้เตียงผู้ป่วย

2. เช็ดทำความสะอาดตามหัวเตียงและพื้น

  • ใช้ที่ดูดฝุ่นเพื่อดูดตามเตียงตามที่นอนให้ทั่วทุกมุม โดยให้มั่นใจว่าได้ขจัดเชื้อโรค เชื้อรา และไรฝุ่นออกไปอย่างหมดจด

  • ควรทำความสะอาดอ่างล้างมือทุกวันด้วยผงซักฟอกหรือแอลกอฮอล์

3. ระมัดระวังในการทำความสะอาด

  • หากผู้ป่วยติดเตียง ควรรองด้วยผ้ายางก่อน และไม่ควรหมักหมมของเสียไว้ในห้องนอนข้ามคืน

การดูแลความสะอาดให้เตียงผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีสภาพจิตใจที่ดีและสุขอนามัยที่ดีตลอดเวลา 

วันนี้หมอขอแชร์ 

  • วิธีทำความสะอาดผ้ายาง ผ้าปูเตียงแบบกันน้ำ
  • วิธีทำความสะอาดหากน้ำปัสสาวะเกิดซึมเปื้อนลงไปถึงฟูกเตียง

วิธีทำความสะอาดผ้ายาง ผ้าปูเตียงแบบกันน้ำ 

ขั้นตอนการทำความสะอาดผ้ายาง ผ้าปูเตียงแบบกันน้ำที่สกปรก ดังนี้

  1. กางผ้ายางออกบนราวตากผ้าแล้วฉีดน้ำชะล้าง
  2. ใช้น้ำยาทำความสะอาดพื้นผิวฉีดทิ้งไว้ประมาณ 30-60นาที 
  3. ฉีดล้างน้ำเปล่าอีกรอบ
  4. ตากแดดให้แห้ง

การใส่ใจกับการซักล้างเมื่อเปรอะเปื้อนควรกำหนดตารางทำความสะอาดเป็นประจำ

ผ้ารองนอนคาดเตียง เสื้อผ้าผู้ป่วย

  • ควรเปลี่ยนทุกวัน และหากเป็นไปได้ แนะนำให้ซักทุกวัน นำไปตากแดดจัดทุกวันเลย 
  • เพราะการหมักหมมไว้ซักทีเดียววันสุดสัปดาห์เชื้อโรคก็จะก่อตัวสะสมมากขึ้น สร้างกลิ่นอันไม่พึงประสงค์อยุ่ในตัวบ้านตลอดเวลาจนสุดสัปดาห์เช่นกัน

เครื่องใช้อื่นๆ เช่นโถรองนั่งปัสสาวะ/อุจจาระ  หม้อนอนสำหรับขับถ่าย 

  • เมื่อมีน้ำปัสสาวะในโถหรือหม้อนอนสำหรับขับถ่าย ต้องเททิ้งลงชักโครกกดน้ำเลยทันที ไม่ควรนำไปวางทิ้งไว้ก่อน แล้วค่อยล้างทำความสะอาดทีเดียวช่วงเย็น เพราะจะก่อให้เกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ได้ แม้ว่าจะมีฝาปิดมิดชิดแค่ไหนก็ตาม 

วิธีทำความสะอาดหากน้ำปัสสาวะเกิดซึมเปื้อนลงไปถึงฟูกเตียง 

แต่หากปัสสาวะเกิดซึมเปื้อนลงไปถึงฟูกเตียงชั้นล่าง…
...การกำจัดกลิ่นปัสสาวะ กลิ่นฉี่ กลิ่นไม่พึงประสงค์ในการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียงก็ไม่ได้ยากเลย

จากประสบการณ์การกำจัดกลิ่นฉี่บนที่นอนในผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียงมีหลากหลายเทคนิคให้ลองนำไปใช้กัน ดังนี้

1. ควรทำความสะอาดในทันที 

  • สำหรับฉี่ที่พึ่งฉี่ใหม่หรือเป็นคราบหมาดๆ ควรทำความสะอาดในทันที เพื่อไม่ให้คราบซึมลึกลงไปบนผ้าปูที่นอน โดยใช้ผ้าเช็ดและกระดาษทิชชูหนาๆ ซับลงบนคราบ เพื่อให้แห้งไวที่สุด
ตัวช่วยขจัดคราบ

2. ใช้ผ้าชุบน้ำมาวางไว้บนคราบ 

  • หลังจากใช้กระดาษทิชชูหนาๆ ซับลงบนคราบ จากนั้นให้นำผ้าชุบน้ำมาวางไว้บนคราบ และค่อยๆนำน้ำสะอาดเทลงไปทีละน้อยๆ จนทั่วบริเวณคราบฉี่แล้วค่อยๆกดซับคราบออกมาให้ได้มากที่สุด

3. การใช้น้ำส้มสายชูก็ได้ผลดี 

  • เริ่มต้นด้วยการรีบซับคราบฉี่ด้วยกระดาษทิชชู่ หรือผ้าขี้ริ้ว หรือผ้าขนหนู โดยพยายามให้แห้งเร็วที่สุดเพื่อไม่ให้คราบไม่ลงลึกมาก และควรใช้กระดาษหนังสือพิมพ์มาวางด้านบนผ้าขนหนูที่ใช้ซับด้วยเพื่อให้สามารถดูดความชื้นได้ดีขึ้น ซับจนกว่าคราบฉี่จะแห้งเมื่อคราบฉี่แห้งแล้วให้นำผ้าขนหนูชุบน้ำมาเช็ดคราบออกให้ได้มากที่สุด หรือผสมน้ำในกระบอกฉีดน้ำหลังจากนั้นให้ฉีดพรมลงบนคราบฉี่ให้ทั่วแล้วทิ้งไว้สักพัก ก็สามารถกำจัดกลิ่นฉี่ได้

4. แป้งฝุ่นก็สามารถใช้ได้ดี 

  • กรณีมีแป้งฝุ่นสามารถใช้ได้ดีเช่นกัน โดยโรยแป้งฝุ่น หรือ เบกกิ้งโซดา ไปบริเวณที่มีรอยฉี่ให้ทั่วเพื่อขจัดและดูดซับกลิ่นฉี่

5. "ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์" ตัวช่วยขจัดคราบ 

  • ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ ตัวช่วยขจัดคราบเป็นน้ำยาฆ่าเชื้อฤทธิ์อ่อน ซึ่งไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์นั้นเป็นสารละลายที่สามารถใช้ทำความสะอาดได้ดี มีความปลอดภัยค่อนข้างมาก จึงได้รับความนิยมนำมาเป็นสารทำความสะอาดในกรณีที่ต้องการกำจัดกลิ่น และคราบต่างๆ ที่กำจัดได้ยากนั่นเอง
  • การใช้ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์กำจัดกลิ่นต้องใช้ร่วมกับ แอมโมเนีย เบกกิ้งโซดา ผงซักฟอกเล็กน้อย ขั้นตอนในการดับกลิ่นจากไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ไม่ยุ่งยากเลย เริ่มจาก การใช้น้ำอุ่นเทลงไปบนคราบฉี่เพื่อฆ่าเชื้อโรค จากนั้นให้นำแอมโมเนีย 2 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำ 1 ถ้วย แล้วเช็ดคราบบนที่นอนให้ออกได้มากที่สุด จากนั้นผสมไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ 1 ถ้วย เบกกิ้งโซดา 3 ช้อนโต๊ะ ผงซักฟอกเล็กน้อย ใส่กระบอกฉีดแล้วนำไปฉีดบริเวณที่มีคราบ ทิ้งไว้ให้แห้ง

*จะให้ได้ผลดีเมื่อไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ที่ฉีดลงไปแห้งแล้ว ควรซักที่นอนเฉพาะจุดนั้นด้วยน้ำยาซักแห้ง แชมพู หรือผงซักฟอกก็ได้ จากนั้นก็ใช้ผ้าขนหนูซับน้ำออกให้หมดแล้วทิ้งไว้จนแห้ง ขั้นตอนสุดท้ายคือการนำที่นอนไปตากแดดอีกครั้ง หรือเปิดผ่าม่านให้แสงแดดส่องเข้ามาถึงที่นอน เพียงเท่านี้ก็สามารถดับกลิ่นฉี่บนที่นอนได้

6. การใช้น้ำยาทำความสะอาดและขจัดกลิ่น 

  • อาจจะเรียกได้ว่าเป็นวิธีดับกลิ่นฉี่บนที่นอนซึ่งสามารถทำได้ง่ายที่สุด เมื่อท่านพบว่ายังมีกลิ่นฉี่หลงเหลืออยู่ ทุกท่านอาจจะใช้ น้ำยาทำความสะอาด หรือน้ำยาขจัดกลิ่น วิธีการนี้เพียงแค่ใช้กระดาษทิชชู่ หรือผ้าขนหนูซับคราบฉี่ให้แห้ง จากนั้นฉีดสเปรย์ทำความสะอาด และกำจัดกลิ่นลงไป แต่ที่ลืมไม่ได้คือต้องเปิดหน้าต่างเพื่อให้กลิ่นอับสามารถระบายออกไปได้ด้วย จะใช้พัดลมช่วยเป่าด้วยก็ได้ เมื่อที่นอนแห้งกลิ่นฉี่บนที่นอนก็จะหายไปด้วย

การดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ กลิ่นปัสสาวะ กลิ่นฉี่บนที่นอนรวมไปถึงคราบต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เป็นเรื่องที่ยากเกินกว่าจะจัดการด้วยตัวเอง ซึ่งการดับกลิ่นฉี่บนที่นอนนั้นสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับความสะดวก และความเหมาะสม แต่ข้อสำคัญของวิธีดับกลิ่นฉี่บนที่นอนนั้นต้องพยายามทำให้ที่นอนแห้งที่สุดหลังการทำความสะอาด ด้วยการนำที่นอนที่ทำการดับกลิ่นแล้วไปตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อ 

คราบปัสสาวะ หากทิ้งไว้ ไม่ทำความสะอาด จะทำให้คราบเหล่านั้นฝังลึกลงไป ยิ่งทำให้ทำความสะอาดยากมากขึ้น ฉะนั้นเมื่อเกิดคราบจึงควรรีบทำความสะอาดทันที เพื่อให้ที่นอนคุณสะอาด ปราศจากคราบสกปรกต่างๆ      

3 วิธีป้องกันปัสสาวะซึมเปื้อนลงไปถึงฟูกเตียงชั้นล่าง

วิธีป้องกันปัสสาวะซึมเปื้อนลงไปถึงฟูกเตียงชั้นล่าง

สิ่งสำคัญที่ไม่อยากให้ทุกท่านลืมคือการซักทำความสะอาดผ้าที่เปื้อนรอยฉี่ซ้ำอีกครั้ง ด้วยน้ำและผงซักฟอก แล้วล้างให้สะอาด ก่อนนำผ้าที่ซักแล้วไปตากแดด เพื่อรักษาความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคไปในตัว  

นอกจากนี้ ความสะอาดที่ตัวผู้ป่วยก็สำคัญมากเช่นกัน ถ้าเราทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมอื่นๆ แต่ไม่ได้ทำความสะอาดร่างกายให้ผู้ป่วยอย่างถูกต้อง กลิ่นไม่พึงประสงค์ทั้งหลายก็จะไม่หายไปไหน จึงต้องหมั่นอาบน้ำ เปลี่ยนแพมเพิส เช็ดล้างทำความสะอาดอวัยวะขับถ่ายแก่ผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียงอยู่เสมอ

อ่านเทคนิคการปรับบ้านเพื่อผู้สูงอายุเพิ่มเติม 

 

บทความโดย

หมอมิ้นท์ พญ.วรัชยา วลัยลักษณาภรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองและระบบประสาท