มาทำความรู้จัก "อาหารฝึกกลืน"

ผู้ที่มีภาวะกลืนลำบากจะมีอาการแสดงที่หลากหลายแตกต่างกันไป เช่น กลืนอาหารแล้วรู้สึกว่ามีอาหารติดอยู่ในลำคอ มีสำลักตอนกลืน และไอขณะกลืนอาหาร หรือแม้กระทั่งอมอาหารไว้ในปาก ไม่ยอมกลืนลงไป

อาหารฝึกกลืน

การประเมินปัญหาการกลืนว่าเกิดจากส่วนใด เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาหรือปรับอาหารได้ถูกต้องนั้น ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเรื่องการกลืน

  • นักกิจกรรมบําบัด ที่ดูเเลเรื่องการกลืน
  • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ฟื้นฟู

เพื่อร่วมกันออกแบบอาหาร ให้กับผู้ป่วยด้วยการทํางานอย่างเป็นสหสาขาวิชาชีพ 

โดยเบื้องต้น การดูแลโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามโดยมีข้อคำนึง 2 ประการหลักคือ

  1. อาหารต้องตอบสนองความต้องการโภชนาการแต่ละบุคคลได้ 
  2. การทานอาหารและเครื่องดื่มนั้นต้องมีความปลอดภัยในการเคี้ยวและกลืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีความบกพร่อง 

ความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการเคี้ยวอาหารหรือเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อสำหรับการเคี้ยวอาหาร จะทำให้ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารลดลงอย่างชัดเจน 

  • อาการเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะกลืนลำบาก กลืนแล้วเจ็บ กลืนยาก และนำไปสู่ภาวะทุพโภชนาการที่แย่ลงได้ เนื่องมาจากการการรับประทานอาหารลดลง และได้รับสารอาหารและน้ำไม่เพียงพอ
  • การปรับเนื้อสัมผัสอาหารให้เหมาะสมกับความสามารถในการเคี้ยวของผู้ป่วยแต่ละคน อาจเป็นตัวช่วยให้ผู้ป่วยทานอาหารได้ง่ายขึ้น ดีขึ้น สุขภาพกลับมาดีขึ้นได้ 

อาหารสำหรับผู้ที่มีปัญหากลืนยาก กลืนลำบาก ซึ่งเรียกว่า "อาหารฝึกกลืน" นับเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคทางประสาทและสมอง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งนอกจากจะมีความบกพร่องแขนขาแล้ว ยังมีความบกพร่องของอวัยวะอื่นๆ รวมถึงระบบกล้ามเนื้อที่ควบคุมการกลืนอีกด้วย 

"อาหารฝึกกลืน" เป็นอาหารที่ถูกออกแบบ เพื่อให้มั่นใจว่าอาหารและเครื่องดื่มที่ถูกดัดแปลงเนื้อสัมผัสมีความถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ป่วย ในแง่ มีความหนืด มีสารอาหารที่เหมาะสม เป็นต้น 

อาหารฝึกกลืน IDDSI

เมื่อนักกำหนดอาหาร นักโภชนาการ หรือผู้ดูแลเตรียมอาหารได้ถูกต้องและเหมาะสมกับความสามารถในการเคี้ยว-กลืนของผู้ป่วยแล้ว จะทำให้ผู้ป่วยเคี้ยวและกลืนอาหารได้อย่างปลอดภัย ได้รับพลังงาน สารอาหาร และน้ำอย่างเพียงพอ ลดความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ และลดการเกิดอาการแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้

สำหรับผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก เช่น กลืนอาหารแล้วรู้สึกว่ามีอาหารติดอยู่ในลำคอ มีสำลักตอนกลืน และไอขณะกลืนอาหาร หรือแม้กระทั่งอมอาหารไว้ในปาก ไม่ยอมกลืนลงไป แล้วสงสัยว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดจากอะไร สามารถอ่านเพิ่มเติมและวิเคราะห์ปัญหากลืนลำบากในผู้ป่วยสโตรกด้วยตนเองได้อย่างเป็นขั้นตอนที่ >> 

วิเคราะห์ปัญหากลืนลำบากในผู้ป่วยสโตรก ด้วยตนเอง

 

บทความโดย

หมอมิ้นท์ พญ.วรัชยา วลัยลักษณาภรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองและระบบประสาท