รู้ทัน ป้องกันได้ !! อาการสำลักขณะหรือหลังให้อาหารทางสายยาง

การสำลักอาหาร เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงวัย ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรคอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน  เนื่องจากอายุที่มากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อและกลไกที่เกี่ยวข้องกับการกลืนทำงานช้าลงอาการสำลักขณะหรือหลังให้อาหารทางสายยาง

สำหรับการกลืนที่ลำบากจะส่งผลให้เกิดการสำลักในระหว่างรับประทานอาหาร ผู้ป่วยกลุ่มนี้ล้วนเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการสำลักอาหารทั้งทางปากหรือทางสายยางให้อาหาร ซึ่งการสำลักบ่อยๆ จะนำมาสู่ความเสี่ยงในการเกิดภาวะติดเชื้อในปอดได้

สาเหตุที่พบบ่อย 

สาเหตุสำคัญสองประการที่ทำให้ผู้ป่วยมีการสำลักขณะหรือหลังให้อาหารทางสายยาง 

  • เกิดจากการจัดท่าให้ผู้ป่วยนอนราบขณะรับอาหารทางสายยาง
  • เกิดจากปัญหาการไอเสมหะขณะที่ได้รับอาหารทางสายยาง 

การสำลักอาหารของผู้ป่วยเป็นต้นเหตุของการติดเชื้อในปอดและหลอดลม รวมไปถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเข้ากระแสเลือดได้ในที่สุด หากพบว่าผู้ป่วยมีการสำลัก มีการไอกระแอมขณะหรือหลังให้อาหารทางสายยาง ผู้ดูแลควรรีบจัดการแก้ไขด้วยวิธีเบื้องต้นดังต่อไปนี้ 

การจัดท่าให้ผู้ป่วยนอนราบขณะรับอาหารทางสายยาง

วิธีการป้องกันและแก้ไข

  • จัดท่านอนให้ศีรษะสูงอย่างน้อย 30-45 องศา หรือนั่งเอนขณะให้อาหาร
  • ในรายทีนั่งไม่ได้อาจจัดท่าผู้ป่วยในท่านอนตะแคงขวาแทน เนื่องจากหากผู้ป่วยนอนตะแคงทับร่างกายซีกซ้ายขณะให้อาหารอาจทำให้กระเพาะอาหารที่อยู่ด้านซ้ายของผู้ป่วยจะถูกกดทับและส่งผลให้ผู้ป่วยขย้อนอาหารออกมาได้
  • หากผู้ป่วยมีเสมหะปริมาณมาก ต้องทำการดูดเคลียร์เสมหะให้หมดก่อนเริ่มทำการต่อสายยางให้อาหารเข้าสู่ผู้ป่วย 
  • หากจำเป็นต้องทำการดูดเสมหะขณะที่ทำการให้อาหารทางสายยางอยู่ ต้องหยุดการให้อาหาร โดยการหนีบแคลมป์สายยางให้อาหาร หรือหมุนปรับตัวกำหนดอัตราการไหลของอาหารให้เป็นหยุดสนิท จึงเริ่มทำการดูดเสมหะให้เสร็จเรียบร้อย แล้วจึงเริ่มทำการให้อาหารทางสายยางใหม่อีกครั้ง 

การสำลักอาหารของผู้ป่วยเป็นต้นเหตุของการติดเชื้อในปอดและหลอดลม รวมไปถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเข้ากระแสเลือดได้ในที่สุด หากพบว่าผู้ป่วยมีการสำลัก มีการไอกระแอมขณะหรือหลังให้อาหารทางสายยาง ผู้ดูแลควรรีบจัดการแก้ไข

 

อ่านเพิ่มเติม

บทความโดย

หมอมิ้นท์ พญ.วรัชยา วลัยลักษณาภรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองและระบบประสาท