การบำบัดด้วยการใช้แว่นพริซึม (Prism adaptation therapy)
การบำบัดด้วยการใช้แว่นแว่นพริซึม (Prism adaptation therapy) เป็นวิธีการบำบัดสมองที่เน้นการฝึกฝนการสัมผัส-การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ (sensory-motor rehabilitation) ซึ่งได้รับการนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยแว่นพริซึมที่ใช้ในการบำบัดจะช่วยเลื่อนภาพที่เห็นไปทางข้างหนึ่ง เพื่อกระตุ้นการปรับตัวของผู้ป่วยให้เหมาะสมกับสภาพการเปลี่ยนแปลงนั้น ซึ่งสามารถช่วยฝึกฝนสมองให้ฟื้นตัวและเพิ่มการรับรู้พื้นที่ได้
การวิจัยพบว่าการบำบัดด้วยการใช้แว่นพริซึมสามารถช่วยปรับปรุงการเคลื่อนไหวแลภาวะเพิกเฉยครึ่งซีกในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ ซึ่งการใช้แว่นพริสม์ในการบำบัดสามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีการรับรู้ด้านที่เพิกเฉย ที่ละเอียดอ่อนขึ้นและสามารถทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น
การบำบัดด้วยการใช้แว่นพริซึมส่วนใหญ่จะมีการดำเนินการโดยนักบำบัดที่ได้รับการฝึกฝนในโรงพยาบาลหรือคลินิกขนาดใหญ่ แต่ก็มีการศึกษาบางส่วนที่มีการใช้การบำบัดแบบนี้ ที่บ้านด้วยแว่นพริซึมแบบพกพาได้ด้วย
ในการฟื้นฟูความสามารถในการรับรู้สิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การบำบัดด้วยแว่นพริซึมนับว่าเป็นวิธีการที่มีศักยภาพสูงและสามารถช่วยพัฒนาการเคลื่อนไหวและการรับรู้สิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยได้
วิธีการนี้อาจเป็นประโยชน์ได้มากในผู้ป่วยที่มีภาวะเพิกเฉยครึ่งซีกรุนแรง คือไม่รับรู้สิ่งแวดล้อมครึ่งซีกนั้นทั้งหมดเลย
อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการบำบัดแบบที่บ้านและการระบุปริมาณและระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการบำบัดด้วยแว่นพริซึมสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มเติมในอนาคตต่อไป
อ่านเพิ่มเติม
- Five new things in neurorehabilitation. Neurology Clinical Practice. Epub Nov 13 2014. doi: 10.1212/01.CPJ.0000437088.98407.fa.
- Spatial Neglect Guide for Stroke Survivors from kesslerfoundation.org
- Unilateral Neglect: Reducing Symptoms With Prism Adaptation from medbridge.com
บทความโดย
หมอมิ้นท์ พญ.วรัชยา วลัยลักษณาภรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองและระบบประสาท