5 เทคนิคเพื่อฝึกฝน ผู้ป่วยสโตรกที่มีภาวะเพิกเฉยครึ่งซีก
ภาวะเพิกเฉยครึ่งซีกนี้เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยผู้ป่วยจะมีความยากลำบากในการรับรู้และตอบสนองกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่ทางด้านข้างของร่างกายหรือสิ่งแวดล้อมด้านตรงข้ามกับรอยโรคในสมอง วันนี้หมอจะมาขอแชร์ 5 เทคนิคเพื่อฝึกฝน ผู้ป่วยสโตรกที่มีภาวะเพิกเฉยครึ่งซีก (Post stroke hemi-spatial neglect) ให้ผู้อ่านได้ลองนำไปปรับใช้ดูค่ะ
การฝึกกายภาพ สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะเพิกเฉยครึ่งซีก (Hemi-spatial neglect) ต้องใช้การผสมผสานระหว่างเทคนิคการทดแทน และการออกกำลังกาย ที่เน้นบังคับให้ผู้ป่วยให้ความสนใจกับด้านที่ได้รับผลกระทบ
ตัวอย่างเทคนิคที่นักกายภาพเฉพาะทางด้านหลอดเลือดสมองใช้ในการฝึก ได้แก่
- การฝึกให้กวาดสายตาสังเกตสิ่งแวดล้อม
- การฝึกการกลอกตา โดยการใช้สิ่งเร้า
- การเตือนผู้ป่วย
1. การฝึกให้กวาดสายตาสังเกตสิ่งแวดล้อมทั้งหมด เรียกว่า เทคนิค visual scanning
2. การฝึกการกลอกตา โดยการใช้สิ่งเร้า เป็นภาพเคลื่อนไหว เรียกว่า เทคนิค eye tracking
3. การเตือนผู้ป่วย
- การเตือนผู้ป่วยทุกครั้ง ให้ใช้ข้างที่เพิกเฉยหรือ เพื่อกระตุ้นความสนใจในข้างที่ผู้ป่วยเพิกเฉย
" 3 เทคนิคแรกนั้นเป็นเทคนิคง่ายๆที่ ญาติผู้ป่วยหรือผู้ดูแลเองสามารถนำไปประยุกต์ใช้ เสมือนเล่นเกมส์กับผู้ป่วยที่บ้านเองได้ การฝึกเยอะ ฝึกบ่อยย่อมทำให้เกิดการรับรู้สิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น และอาการเพิกเฉยเฉพาะข้างของผู้ป่วยนั้นลดลงอีกด้วย "
2 เทคนิคต่อไป เป็นเทคนิคที่ต้องอาศัยอุปกรณ์และความเชี่ยวชาญในการฝึกเพิ่มเติม นิยมใช้ที่ศูนย์ฝึกสมองขนาดใหญ่ หรือโรงพยาบาลที่มีนักกายภาพเฉพาะทางด้านหลอดเลือดสมองเพื่อช่วยใช้ในการฝึก ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ได้แก่ การฝึกโดยใช้กระจก (Mirror Therapy) และ การบำบัดด้วยการใช้แว่นพริซึม (Prism adaptation therapy)
เนื่องจากบทความจะละเอียดขึ้นในทั้งสองเทคนิคนี้ สามารถติดตามอ่านแต่ละเทคนิคพิเศษนี้ได้ในบทต่อไปนะคะ
จากประสบการณ์ที่หมอรักษามา การรักษา ผู้ป่วยสโตรกที่มีภาวะเพิกเฉยครึ่งซีกจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากใช้เทคนิคที่หลากหลาย และทางทีมนักกายภาพเน้นการฝึกหลายเทคนิคสลับกันไป
บทความโดย
หมอมิ้นท์ พญ.วรัชยา วลัยลักษณาภรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองและระบบประสาท