การฝึกโดยใช้กระจก (Mirror Therapy)

การฝึกโดยใช้กระจกเป็นเทคนิคการฟื้นฟูที่ได้รับการพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพในการช่วยฟื้นฟูการทำงานของกล้ามเนื้อสั่งการ อีกทั้งยังมีงานวิจัยที่พบว่าการใช้ Mirror therapy สามารถช่วยลดอาการปวดที่แขนขาข้างที่เกิดสโตรก คืออ่อนแรง ใช้งานไม่ได้จากตัวโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย (Phantom Limb Pain)

การฝึกโดยใช้กระจก (Mirror Therapy)

การใช้กระจกเพื่อสร้างภาพสะท้อนของแขนขาข้างที่ไม่ได้รับผลกระทบ ทำให้เกิดภาพลวงตาของการเคลื่อนไหวในแขนขาข้างที่ได้รับผลกระทบได้ (ดูในรูปประกอบนะคะ)

การสังเกตการสะท้อนของแขนขาข้างที่ไม่ได้รับผลกระทบนั้นช่วยให้สมองฝั่งที่ได้รับบาดเจ็บ เกิดการสร้างเครือข่ายของเซลล์สมองขึ้นได้ และช่วยกระตุ้นการใช้งานของแขนขาข้างที่ได้รับผลกระทบนั่นเองค่ะ

mirror-training-in-phantom-limb-pain
  • การฝึกโดยใช้กระจก พบว่ามีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการฟื้นฟูการใช้งานของกล้ามเนื้อส่วนมือ ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง การศึกษาพบว่าการรักษาด้วยกระจกสามารถนำไปสู่การฟื้นฟูความแข็งแรงในการจับ เพิ่มระยะทางในการเคลื่อนไหวให้เคลื่อนที่ได้ไกลขึ้น และการควบคุมกำลังกล้ามเนื้อที่ดีขึ้น ในมือข้างที่ได้รับผลกระทบ 
  • การฝึกโดยใช้กระจก ส่วนใหญ่จะมีการดำเนินการโดยนักบำบัดที่ได้รับการฝึกฝนในโรงพยาบาลหรือคลินิกขนาดใหญ่ แต่ก็สามารถทำได้ที่บ้านโดยใช้กระจกแบบพกพาเช่นกัน อย่างไรก็ตาม

สิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยคือการได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยได้รับการฝึกด้วยเทคนิคที่ถูกต้อง เหมาะสมและปลอดภัย

    mirror-therapy

    โดยรวมแล้ว การบำบัดด้วยกระจกเป็นวิธีที่มีแนวโน้มดีในการฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งสามารถช่วยปรับปรุงการทำงานของกล้ามเนื้อมือ แขน ขาได้

    อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจถึงประโยชน์และข้อจำกัดที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างถ่องแท้ของการใช้เทคนิคนี้ และเพื่อระบุขนาดความถี่ ของการรักษา หรือเว้นการรักษา รวมไปถึงระยะเวลาที่เหมาะสมของการรักษาด้วยกระจกสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต่อไป

    สำหรับผู้ดูแลท่านใด สนใจเรื่องการลด บรรเทาอาการปวดที่แขนขาข้างที่เกิดสโตรก คืออ่อนแรง ใช้งานไม่ได้จากตัวโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย (Phantom Limb Pain) สามารถติดตามอ่านได้ที่บทความต่อไปของหมอนะคะ หมอขอมาแชร์ให้ฟัง จะได้นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงของผู้ป่วยได้อย่างเข้าใจค่ะ 

     

    อ่านเพิ่มเติม 

    Collins, Kassondra & Russell Johns, Hannah & Schumacher, Patrick & Robinson-Freeman, Katherine & O’Conor, Ellen & Gibney, Kyla & Yambem, Olivia & Dykes, Robert & Waters, Robert & Tsao, Jack. (2018). A review of current theories and treatments for phantom limb pain. Journal of Clinical Investigation. 128. 2168-2176. 10.1172/JCI94003. 

     

    บทความโดย

    หมอมิ้นท์ พญ.วรัชยา วลัยลักษณาภรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองและระบบประสาท