เข้าใจ"ภาวะเข่าแอ่น"ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางสมองมักจะมีผลกระทบทางด้านการเคลื่อนไหว เช่น มีอาการอ่อนแรงหรือมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ซึ่งเกิดจากการสั่งการของสมองลงมาที่กล้ามเนื้อเกิดการทำงานผิดปกติ ส่งผลทำให้เกิดภาวะเข่าแอ่นขึ้นได้
ภาวะเข่าแอ่น ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง คืออะไร
ภาวะเข่าแอ่น (genu recurvatum) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเข่าในผู้ป่วยที่เหยียดตรงไปทางด้านหลังมากเกินไป โดยแนวของเข่าจะอยู่หลังข้อสะโพก ต่างจากผู้ป่วยปกติที่แนวของเข่าจะอยู่หน้าข้อสะโพกเล็กน้อยหรือตรงเดียวกัน วิธีการตรวจสอบโดยง่าย คือ ให้ทำการสังเกตผู้ป่วยขณะที่ยืนหรือเดิน โดยมองจากด้านข้างของผู้ป่วย จะพบว่าแนวของเข่าอยู่หลังข้อสะโพก แสดงว่าผู้ป่วยมีภาวะเข่าแอ่น
อันตรายจากภาวะเข่าแอ่นในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
การสูญเสียความมั่นคงนี้จะเป็นต้นเหตุให้เกิดอาการเข่าหลวม และไม่มั่นคงในการเดินของผู้ป่วยในระยะยาว
อาการเจ็บเข่าที่เกิดขึ้นเนื่องจากภาวะเข่าแอ่นและการสูญเสียความมั่นคงของเอ็นกระดูกรอบข้อเข่านั้นอาจจะมีความรุนแรงต่างกันได้ตามสาเหตุและความรุนแรงของภาวะเข่าแอ่น
การรักษาแตกต่างกันไปตามอาการของผู้ป่วยแต่ละราย โดยควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านกล้ามเนื้อและข้อกระดูกเพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม
ป้องกันไว้ดีกว่าแก้
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีความเสี่ยงต่อภาวะเข่าแอ่น ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ โดยการฝึกท่าเดิน และออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเข้าช่วย นับเป้นการป้องกันการเกิดภาวะเข่าแอ่นนี้ตั้งแต่เริ่มแรก
หากผู้ป่วยท่านใดที่สังเกตเห็นว่าเริ่มมีการเดินที่ผิดปกติ เดินแล้วรู้สึกไม่มั่นคง ควรรีบปรึกษาแพทย์ประจำตัว เพื่อสอบถาม
เนื่องจากถ้าหากไม่ได้รับการแก้ไขหรือได้รับการรักษาอย่างไม่ถูกวิธี ก็จะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการข้อหลวมไม่มั่นคง ผู้ป่วยจะลดการใช้งานลง ไม่ยอมเดิน เนื่องจากพอขยับหรือเดินก็รู้สึกไม่ถนัด และในที่สุด ย่อมส่งผลให้เกิดการยึดติดของข้อหรือ เกิดภาวะข้อเสื่อมเรื้อรังได้ตามมาได้
บทความโดย
หมอมิ้นท์ พญ.วรัชยา วลัยลักษณาภรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองและระบบประสาท