ถามมาตอบไป ไหล่ตกในผู้ป่วยสโตรค เกิดจากอะไร พร้อมข้อแนะนำ
การใส่สายพยุงกันไหล่ตกในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นการรักษาเพื่อป้องกันการเคลื่อนของหัวไหล่ ซึ่งสามารถหลุดออกนอนเบ้ากระดูกได้ เป็นผลจากการอ่อนแรงลงของกล้ามเนื้อยึดเกาะรอบหัวไหล่ หลังผู้ป่วยเจ็บป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือที่เรียกกันภาษาแพทย์ว่า สโตรค นั่นเองค่ะ
ถามมา: ไหล่ตกในผู้ป่วยสโตรค เกิดจากอะไร
ตอบไป: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อาจมีภาวะไหล่หลวม หลุดออกนอนเบ้ากระดูกได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณข้อไหล่จะอ่อนแรงและลีบลง หลังเป็นโรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นมานานแล้ว และไม่รับการฟื้นฟู มวลกล้ามเนื้อที่ใช้ในการนึดเกาะ เอ็นรอบข้อจะอ่อนหลวมลง ทำให้หัวกระดูกส่วนไหล่เคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งที่ถูกต้องได้
แล้วใครกันบ้างละ ที่จำเป็นต้องใส่สายพยุงกันไหล่ตก ?
ข้อแนะนำในการใส่สายพยุงกันไหล่ตกในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
- ควรใส่สายพยุงข้อไหล่แบบปรับขนาดได้ เพื่อป้องกันไม่ให้หัวไหล่ตกลง รวมทั้งไม่รัดแน่นเกินไปจนไม่สบายตัวและกลายเป็นเกร็งตัวของกล้ามเนื้อแทน
วิธีการวัด ใช้สายวัดๆรอบหน้าอกคล้ายการวัดขนาดไซส์เสื้อ (หน่วยเป็นนิ้ว)
- ในผู้ป่วยที่มีกำลังกล้ามเนื้อไม่แข็งแรงอยู่เดิม ควรหลีกเลี่ยงท่ากางแขนออกนอกลำตัวและท่ายกแขนขึ้น เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการบิดเคลื่อนของข้อหัวไหล่ในองศาที่หลุดเคลื่อนได้ง่ายขึ้นอีก
- ควรใส่เฉพาะเวลาที่มีกิจกรรมการเคลื่อนไหว ช่วงนอนอาจถอดออกได้ เพื่อไม่ให้เกิดความอับชื้น หรือรำคาญอุปกรณ์ ซึ่งพบได้บ่อย นับเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยไม่ชอบใส่สายพยุงไหล่นี้
การใส่สายพยุงกันไหล่ตกในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากป้องกันการเคลื่อนผิดรูป ไหล่ตกแล้วนั้น ยังสามารถช่วยลดอาการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ที่มักจะห้อยตกลงมาได้อีกด้วย
ดังนั้น การใส่สายพยุงและการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เป็นสิ่งที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากข้อไหล่ผิดรูป และอาการเกร็งกล้ามเนื้อหัวไหล่ในช่วงระยะฟื้นฟู
อ่านเพิ่มเติม :
คำแนะนำวิธีการใส่สายพยุงในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ถูกต้อง
บทความโดย
หมอมิ้นท์ พญ.วรัชยา วลัยลักษณาภรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองและระบบประสาท