คำถามยอดฮิต! ต้องฝึกมากแค่ไหน กล้ามเนื้ออ่อนแรงจึงจะดีขึ้น

ผู้ป่วยหลายท่านตั้งคำถามหมอว่า ต้องฝึกมากแค่ไหน กล้ามเนื้ออ่อนแรงจึงจะดีขึ้น

แน่นอนว่ากำลังกล้ามเนื้อที่ดีขึ้น การกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เป็นความฝันสูงสุดของผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือสโตรก

ต้องฝึกมากแค่ไหน กล้ามเนื้ออ่อนแรงจึงจะดีขึ้น

การกำหนดขนาดที่เหมาะสมที่สุด สำหรับการฟื้นฟูในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูทุกท่าน เนื่องจากขนาดการรักษา ความถี่ของการทำกายภาพฟื้นฟูนั้น แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น

  • ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง
  • สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยเดิม สามารถเดินได้คล่อง หรือมีความเจ็บป่วยอยู่บ้างเดิมก่อนเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
  • เป้าหมายส่วนบุคคลสำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพของแต่ละบุคคล

โดยทั่วไป การฟื้นฟูกายภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นการรักษาผสมผสานกันทั้งการบำบัดทางกายภาพ กิจกรรมบำบัด และการฝึกพูด รวมไปถึงการใช้ยาที่จำเป็น ขนาดความถี่ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการกายภาพ ไม่มีคำตอบที่ตายตัว 

อย่างไรก็ตาม ความถูกต้องและความเหมาะสมในเทคนิคการฝึกนั้นสำคัญ !!

การฝึกในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีผลต่อการฟื้นตัวของความสามารถของร่างกายที่ โดยพบว่าปริมาณการฝึกมีความสัมพันธ์ต่อผลลัพธ์ของการรักษาจริง หมายถึง ฝึกมากดีขึ้นมาก 

สรุปข้อมูลจากงานวิจัย

มีหลักฐานทางวิชาการ ที่บ่งชี้ว่าความเข้มข้นและความถี่ของการฝึกที่มากขึ้นอาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น การทบทวนอย่างเป็นระบบที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ Journal of Rehabilitation Medicine ในปี 2020

"พบว่าปริมาณการฝึกกายภาพที่มากขึ้น ซึ่งกำหนดไว้ คือ อย่างน้อย 3 ชั่วโมงต่อวัน มีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์ด้านการเคลื่อนไหวและการทำงานที่ดีขึ้นในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง"

ท้ายที่สุดแล้ว... ขนาดการรักษา การฝึกฝนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการฟื้นฟูในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ และควรได้รับการพิจารณาโดยทีมสหสาขาวิชาชีพของบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงแพทย์ นักกายบำบัด และผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟู ซึ่งจะร่วมกันสร้างแผนการรักษาเฉพาะบุคคลสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย

Intensive stroke rehabilitation

ดังนั้นคำตอบของคำถามว่า ต้องฝึกมากแค่ไหน ฝึกถี่บ่อย ปริมาณแค่ไหนนั้น ?

คำตอบ คือ

1. จำเป็นต้องหาขนาดปริมาณที่เหมาะสม (optimal dose) ขึ้นกับแต่ละบุคคล

2. ขึ้นอยู่กับวิธีการฝึกที่ถูกออกแบบในแต่ละรูปแบบด้วย

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนั้น มีความหลากหลาย อาการแตกต่างกันอย่างมาก การใช้การรักษาแบบเดียวกันทั้งหมด เห็นคนนั้นทำแล้วดี แล้วนำมาใช้กับตนเอง อาจไม่ได้ผลดี แต่อาจกลับมีผลเสียได้ด้วย เป็นสิ่งที่ต้องระวัง

การฝึกที่รุนแรง หรือมากเกินไปจะทำให้ผู้ป่วยเหนื่อย ล้า โดยที่ไม่ได้เพิ่มผลลัพท์ของการรักษาที่ดีขึ้นตาม...

เพราะการออกแบบการรักษานั้น ต้องปรับให้เหมาะกับความต้องการของผู้ป่วยแต่ละราย (tailor-made) และต้องปรับเปลี่ยนตามเวลา ตามความก้าวหน้าของผู้ป่วยเมื่อฝึกฝนไปแล้วด้วย

แนะนำเทคนิกการฝึกกายภาพ เพื่อฟื้นฟูในผู้ป่วยสโตรก

 

บทความโดย

หมอมิ้นท์ พญ.วรัชยา วลัยลักษณาภรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองและระบบประสาท