ข้อควรรู้ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ข้อควรรู้ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และทานยาประจำ อ้างอิงจาก แนวทางการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับผู้ป่วยโรคระบบประสาท โดย สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย

วัคซีนโควิด กับผู้ป่วยเส้นเลือดสมองตีบ เส้นเลือดสมองแตก

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ไม่เป็นข้อห้ามในการฉีดวัคซีน

ยกเว้น ผู้ป่วยที่อาการยังไม่คงที่หรือยังมีอาการที่อันตรายต่อชีวิต (life threatening) เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงจะมีอาการรุนแรง หากมีการติดเชื้อจึงถือเป็นกลุ่มที่มี ความจำเป็นต้องได้รับวัคซีนก่อนกลุ่มอื่น 

ข้อแนะนำการฉีดวัคซีน COVID-19

ในกรณีที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulant) เช่น วาร์ฟาริน (Warfarin) 

  • สามารถฉีดวัคซีนได้ 
  • จะต้องมีระดับ INR ที่น้อยกว่า 3 
  • ควรใช้เข็มขนาด เล็กกว่า 23G
  • ไม่ควรคลึงกล้ามเนื้อหลังฉีดวัคซีน
  • ควรกดตำแหน่งที่ฉีดหลังการฉีดยานานกว่าปกติจนกว่า จะแน่ใจว่าไม่มีเลือดออกผิดปกติ

ในกรณีที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดกลุ่มใหม่ ชนิดรับประทาน (Novel Oral Anticoagulant; NOAC) เช่น Dabigatran, Rivaroxaban, Apixaban และ Edoxaban และยาต้านเกล็ดเลือดเช่น Aspirin, Clopidogrel, Cilostazol

  • สามารถฉีดวัคซีนได้
  • ควรใช้เข็มขนาด เล็กกว่า 23G
  • ไม่ควรคลึงกล้ามเนื้อหลังฉีดวัคซีน
  • ควรกดตำแหน่งที่ฉีดหลังการฉีดยานานกว่าปกติจนกว่า จะแน่ใจว่าไม่มีเลือดออกผิดปกติ

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีประวัติโรคลมชักร่วมด้วย 

  • ไม่เป็นข้อห้ามในการฉีดวัคซีน ยังไม่มีรายงานว่าการฉีดวัคซีนจะทำให้โรคลมชักแย่ลง ผู้ป่วยโรคลมชักสามารถ ได้รับการฉีดวัคซีนได้หากไม่มีข้อห้ามอื่น ๆ
  • แต่หลังการฉีดวัคซีนอาจมีไข้ และไข้อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ ชักได้ จึงควรเฝ้าระวังและติดตามอย่างใกล้ชิดจนกว่าอาการไข้จะลดลง 

ส่วนโรคทางระบบประสาทอื่น ๆ เช่น โรคพาร์กินสัน โรคสมองเสื่อม โรคเซลประสาทสั่งการเสื่อมตัว โรคเส้นประสาท และกล้ามเนื้อที่เกิดจากพันธุกรรมหรือการเสื่อม ไม่เป็นข้อห้ามในการฉีดวัคซีน 

 

บทความโดย

หมอมิ้นท์ พญ.วรัชยา วลัยลักษณาภรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองและระบบประสาท