วิธีจัดการให้อยู่หมัด ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุ

ปัญหาการขับถ่ายในผู้สูงอายุเป็นปัญหาที่พบบ่อย ผู้สูงอายุนอกจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายภายนอก การขับถ่ายของผู้สูงอายุก็เปลี่ยนไป

ปัญหาถ่ายยาก ถ่ายไม่ออก ท้องผูก ควรได้รับการดูแลแก้ไข ไม่ควรปล่อยไว้เป็นปัญหาเรื้อรัง วันนี้หมอมาแชร์วิธีป้องกันและรักษาอาการท้องผูกในผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยให้นำไปปรับใช้กันค่ะ

วิธีจัดการให้อยู่หมัด ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุ

วิธีจัดการปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุ

  • ควรกินอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต เป็นต้น เพื่อช่วยให้ลำอุจจาระนุ่มและเคลื่อนที่ไปตามทางเดินอาหาร ลำไส้ใหญ่ได้ดี
  • ควรดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ประมาณ 6 - 8 แก้วต่อวัน เพื่อช่วยให้อุจจาระไม่แข็งและไม่ติดกับผนังลำไส้ (ต้องระวังปริมาณน้ำ สำหรับผู้ป่วยโรคไต หัวใจ และยึดตามคำแนะนำของแพทย์ประจำตัวนะคะ)
  • ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น เดินเร็ว โยคะ เต้นแอโรบิค เป็นต้น เพื่อกระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่ ช่วยให้ขับถ่ายคล่อง
  • ควรขับถ่ายให้เป็นเวลาและไม่กลั้นอุจจาระ เพื่อป้องกันไม่ให้อุจจาระที่ค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ถูกดูดน้ำกลับเข้าผนังลำไส้ ทำให้ลำอุจจาระที่ค้างอยู่แห้ง แข็งขึ้น ไม่สามารถถ่ายได้
หากมีอาการท้องผูกเรื้อรังหรือมีการเปลี่ยนแปลงของลักษณะของอุจจาระ เช่น มีเลือดปน มีอาการปวดท้อง เป็นต้น ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษา

    โดยทั่วไปแล้ว การป้องกันและรักษาอาการท้องผูกในผู้สูงอายุไม่ได้ยากหรือซับซ้อน แต่ต้องมีความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เพื่อให้ได้ผลที่ดีค่ะ

    สำหรับผู้ป่วยเส้นเลือดสมองตีบ เลือดออกในสมอง สามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ

    วิธีจัดการปัญหา "ท้องผูก ปวดแน่นท้อง"ในผู้ป่วยโรคสโตรก เลือดออกในสมองได้ สรุปจาก Clinical Practice guidelines from the Consortium of Spinal Cord Medicine 2020 >> คลิกอ่านเพิ่มเติม 

     

    บทความโดย

    หมอมิ้นท์ พญ.วรัชยา วลัยลักษณาภรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองและระบบประสาท