อุปกรณ์สำหรับใส่สายยางให้อาหารผู้ป่วยทางจมูก (พร้อมภาพประกอบ)
ญาติผู้ดูแลมือใหม่มักกังวลกับการใส่สายยางให้อาหารทางจมูก เนื่องจากการดูแลผู้ป่วยเป็นงานระยะยาว การฝึกหัดทำหัตถการดังกล่าวเองที่บ้าน จะช่วยลดภาระการดูแล ลดค่าใช้จ่ายในการจ้างเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์มาช่วยใส่ให้ รวมถึงลดค่าใช้จ่ายในการพาคนไข้ไปโรงพยาบาลเพื่อเปลี่ยนสายจมูกทุกเดือนอีกด้วย
วันนี้หมอขอมาแนะนำอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม สำหรับใส่สายยางให้อาหารผู้ป่วยทางจมูก ก่อนที่ไปเริ่มฝึกใส่กันค่ะ
(เพื่อความง่าย ชื่ออุปกรณ์จะตรงกับหมายเลขในภาพนะคะ)
- สายยางให้อาหารกระเพาะผู้ป่วยทางจมูก ขนาดที่ใช้
- เจลหล่อลื่น เช่น K.Y. Jelly หรือ กลีเซอรีน
- พลาสเตอร์ติดสายยางกับจมูก หรือ ทรานสพอร์
- ถาดสี่เหลี่ยม 1 ใบ สำหรับใส่ของใช้
- ชามรูปไต 1 ใบ
- ไซริงค์สำหรับฟีด (Syringe feeding) ที่นิยมใช้คือ ไซริงค์ Asepto แบบที่มีปลายเป็นกระเปา ขนาด 50 ซีซี
- ถุงมือสะอาด
- หูฟังแพทย์ (Stethoscope)
อื่นๆ
- ไม้พันสำลีซุบน้ำเพื่อทำความสะอาดรูจมูก
- วาสลีนทาปาก
การเลือกขนาดสายยางให้อาหารผู้ป่วยทางจมูก
- ผู้ใหญ่เบอร์ 14, 16, 18
- เด็กโตเบอร์ 8-12
- เด็กทารกเบอร์3, 5, 8, 10
อ่านเพิ่มเติม
- Step by step : 9 ขั้นตอนการใส่สายยางให้อาหารผู้ป่วยทางจมูก
- แนะนำข้อมูล-การใช้สายยางให้อาหารในผู้ป่วย
- คู่มือจัดการ ภาวะท้องอืดหลังผู้ป่วยได้รับอาหารทางสายยาง
บทความโดย
หมอมิ้นท์ พญ.วรัชยา วลัยลักษณาภรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองและระบบประสาท