ภาวะแทรกซ้อนจากการให้อาหารทางสายยาง

การให้อาหารทางสายสำหรับผู้ดูแลมือใหม่ (หรือที่เชี่ยวชาญแล้ว) มีภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างที่ผู้ดูแลต้องเฝ้าระวัง อาการที่บ่งบอกถึงอันตรายเป็นอย่างไร ติดตามอ่านกันเลยค่ะ

ภาวะแทรกซ้อนจากการให้อาหารทางสายยาง

จากบทความก่อนหน้า หมอได้สรุป 5 ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่รับอาหารทางสายยาง อันได้แก่ 

  1. ภาวะท้องอืดหรือแน่นท้องหลังได้รับอาหารทางสายยาง
  2. อาการคลื่นไส้อาเจียน
  3. อาการท้องเสีย 
  4. อาการท้องผูก
  5. อาการสำลักขณะหรือหลังให้อาหารทางสายยาง

    ภาวะที่ควรเฝ้าระวังและควรพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที 

    ผู้ดูแลจะต้องหมั่นสังเกตอาการและนำวิธีแก้ไขในเบื้องต้นไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม ตามลักษณะปัญหาที่พบในผู้ป่วยแต่ละรายบุคคล อาจจะมีการสวนอุจจาระช่วย หรืออาจจะให้ยาช่วยถ่ายไปก่อนในผู้ป่วยที่มีปัญหาท้องอืด แน่นท้อง หรือท้องผูกมาก อย่างไรก็ ภาวะที่ควรเฝ้าระวังและควรพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที ไม่ควรรอให้อาการดีขึ้น ได้แก่ 

    • ผู้ป่วยมีไข้ หรือความรู้สึกตัวลดลง บ่งบอกว่าอาจมีการติดเชื้อ
    • ผู้ป่วยไม่สามารถรับอาหารหรือน้ำให้ไปทางสายยางได้เลย หรืออาหารเหลือปริมาณมากติดต่อกันหลายมื้ออาหาร 
    • ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องมากหรือท้องบวมตึง
    • ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้อาเจียนปริมาณมาก 
    • ผู้ป่วยพบปัญหาผิวหนังบริเวณสายยางให้อาหารทางหน้าท้องมีอาการบวมแดง  

            หากพบภาวะดังกว่าวควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์เพื่อทำการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

            เพราะอาการดังกล่าวอาจจะเกิดจากสาเหตุ การติดเชื้อในกระแสเลือด หรือมีการตีบตันของสายยางให้อาหาร ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตราย และเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้อีก 

            อ่านเพิ่มเติม

             

            บทความโดย

            หมอมิ้นท์ พญ.วรัชยา วลัยลักษณาภรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองและระบบประสาท