เทคนิคดูแลผู้ป่วยเสมหะเยอะ&วิธีทำกายภาพขับเสมหะ
การฝึกระบายเสมหะที่บ้านเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาในการขับเสมหะ ด้วยตนเอง เพื่อช่วยให้หายใจสะดวกขึ้นและลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อหรือภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจ นอกจากการฟื้นฟูสมรรถภาพการหายใจ
วันนี้หมอมาแนะนำวิธีพื้นฐานในการระบายเสมหะ ที่สามารถทำได้โดยตัวเองหรือโดยผู้ดูแล 4 วิธีดังนี้
-
การจัดท่าระบายเสมหะ
-
การเคาะปอด
-
การสั่นปอดด้วยอุ้งมือหรือด้วยเครื่อง
-
การฝึกไอ
การจัดท่าระบายเสมหะ (postural drainage)
เป็นการจัดท่าของผู้ป่วย เพื่อใช้แรงโน้มถ่วงของโลกในการระบายเสมหะออกมา มักทำร่วมกับการเคาะปอดและการสั่นปอด
การจัดท่าการระบายเสมหะในปอดมีหลายท่า ขึ้นกับตำแหน่งของเสมหะที่ค้างอยู่ในกลีบปอดแต่ละส่วน การเลือกท่าระบายเสมหะที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย จึงควรสอบถามหมอประจำตัวผู้ป่วยก่อน เพื่อเลือกท่าการระบายเสมหะที่เหมาะสม
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้น สำหรับผู้ป่วยติดเตียงซึ่งมักจะนอนอยู่ในท่านอนหงาย มักพบเสมหะคั่งค้างที่กลีบปอดส่วนหลัง และส่วนยอดของปอดกลีบล่างได้บ่อย การจัดท่าระบายเสมหะจึงมักจัดเป็นท่านอนคว่ำ
การจัดท่าระบายเสมหะท่านอนคว่ำ
การเคาะปอด
เป็นเทคนิคที่ช่วยระบายเสมหะที่ติดอยู่ตามเนื้อปอด และหลอดลมให้หลุดร่อน และระบายออกได้ง่ายขึ้น
การสั่นปอด
เป็นเทคนิคที่ช่วยระบายเสมหะที่ติดอยู่ตามเนื้อปอด และหลอดลมให้หลุดร่อน และระบายออกได้ง่ายขึ้น มักทำร่วมกับการเคาะปอด โดยอาจใช้อุ้งมือของผู้ดูแล หรือโดยใช้เครื่องสั่นปอดก็ได้
ในบทความนี้ หมอจะขอแนะนำการสั่นปอดโดยไม่ใช้เครื่อง เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้จริงที่บ้านนะคะ
การฝึกไอ
- ก่อนไอควรเริ่มด้วยการหายใจออกแบบพ่นลม ซึ่งเป็นการขับเสมหะที่อยู่ลึกๆ ให้ขึ้นมาอยู่ในคอ
- เริ่มต้นจากท่านั่งโน้มตัวไปด้านหน้าเล็กน้อยหายใจเข้าทางจมูกแล้วอ้าปาก
- พ่นลมหายใจทางปากอย่างรวดเร็ว 2 ครั้ง คล้ายการพูด ฮ่ะ ฮ่ะ!
- ทำซ้ำ 2-3 ครั้ง จากนั้นหายใจเข้าลึกและเร็ว
- ไอออกทางปาก 2 ครั้ง
- แนะนำให้หายใจออกแบบพ่นลมหลายๆครั้ง ก่อนที่จะไอขับเสมหะออกมา เพื่อลดอาการเหนื่อยเนื่องจากไอติดต่อกัน
เสมหะที่ค้างอยู่ในปอดเป็นแหล่งเพาะเชื้อที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ เกิดเป็นปอดอักเสบ หรือหากเสมหะคั่งค้างตามหลอดลม ก็จะเกิดหลอดลมอักเสบได้ จึงเป็นเรื่องเร่งด่วยที่ต้องจัดการ ไม่ควรละเลยการหาสาเหตุและการแก้ไข เนื่องจากอาจนำมาสู่การติดเชื้อในกระแสเลือดจากโรคปอดอักเสบ อันตรายถึงเสียชีวิตได้
บทความที่น่าสนใจ
บทความโดย
หมอมิ้นท์ พญ.วรัชยา วลัยลักษณาภรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองและระบบประสาท