สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของปัญหาการนอนหลับในผู้ป่วยโรคสมอง

ปัญหาการนอนหลับที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลต่อตัวผู้ป่วยเอง แต่ยังส่งผลต่อผู้ดูแลอีกด้วย การทราบสาเหตุและแก้ปัญหาให้ตรงจุด ย่อมทำให้สามารถรักษาภาวะการนอนหลับผิดปกตินี้ได้ดีที่สุด

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของปัญหาการนอนหลับในผู้ป่วยโรคสมอง

ปัญหาการนอนหลับที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุที่มีโรคสมองเสื่อม เป็นผลจากหลายปัจจัย ได้แก่

  • การเสื่อมของระบบประสาทส่วนที่ควบคุมการตื่นและการหลับ ทำให้ หลับ-ตื่นไม่เป็นเวลา รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาท เช่น เสื่อมของสารสื่อประสาทโดปามีน (dopamine) ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการเคลื่อนไหว, เสื่อมของสารสื่อประสาทเซโรโทนิน (serotonin) ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการตื่น-หลับ 
  • การเปลี่ยนแปลงของนาฬิการ่างกาย (circadian rhythm) ที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถปรับตัวกับเวลากลางวันและกลางคืนได้
  • การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการดำเนินชีวิต เช่น การเคลื่อนไหวน้อยลง, การไม่มีกิจกรรมที่กระตุ้นจิตใจ, การไม่มีการสังสรรค์กับผู้อื่น ทำให้ความตื่นตัวของร่างกายลดลง ส่งผลให้หลับเยอะขึ้นได้
  • การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เช่น การอยู่ในห้องเงียบปิดตลอดเวลา ไม่มีเสียงธรรมชาติ, ไม่ได้รับแสงธรรมชาติ ที่ช่วยกระตุ้นร่างกายให้ตื่นตัว เป็นต้น 
  • การใช้ยาบางชนิดที่มีผลกระทบต่อการนอนหลับ ยาที่ส่งผลต่อระบบประสาทกลาง เช่น  ยากระตุ้นประสาท (stimulants) ยากล่อมประสาท (sedatives) และยาปรับระบบฮอร์โมนหลายชนิด (hormonal therapy)

>> เช็ครายชื่อยาที่ทำให้ผู้สูงอายุ “นอนไม่หลับ หลับไม่ดี”

  • การมีโรคร่วม เช่น 
    • โรคซึมเศร้า (depression) ความคิดวิตกกังวลทำให้หลับยาก และรักษาระยะเวลาการนอนหลับให้ยาวได้ไม่ดี 
    • โรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease) ทำให้จุกเสียดที่หน้าอก นอนไม่สบาย นอนไม่หลับ
    • โรคเบาหวาน (diabetes) ทำให้ต้องตื่นมาปัสสาวะบ่อย กลับไปก็นอนหลับต่อยาก
    • โรคกระดูกพรุน (osteoarthritis) ส่งผลให้เกิดอาการปวดตอนนอน และนอนไม่หลับ
  • การมีปัญหาร่างกาย เช่น เจ็บปวด (pain) เกร็งกล้ามเนื้อ (muscle spasm) เป็นต้น
  • การมีปัญหาระดับจิตใจ เช่น เครียด (stress) เกรียด (anxiety) เบื่อ (boredom) และกังวล (worry)

จะเห็นว่าสาเหตุที่หมอพูดมา หลากหลายมาก 

ดังนั้นการปรับเปลี่ยนการนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่นอนไม่หลับ ต้องการให้หลับได้ยาว นาน ดีขึ้น หรือ จะเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่หลับเยอะและต้องการให้ตื่นตัวตอนกลางวัน สามารถเข้าร่วมกิจกรรม ออกกำลังกาย กายภาพบำบัดได้มากขึ้น 

อันดับแรก จึงจะต้องทราบสาเหตุที่ทำให้สุขภาพการนอนของแต่ละบุคคลนั้นไม่ดีเสียก่อน จึงจะนำไปสู่การวินิจฉัย และรักษาที่ถูกต้องได้

 

บทความน่าสนใจ

บทความโดย

หมอมิ้นท์ พญ.วรัชยา วลัยลักษณาภรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองและระบบประสาท