ผู้สูงอายุ นอนกี่ชั่วโมงถึงพอดี?
ญาติผู้ป่วยหลายท่ายมาสอบถามหมอว่า คุณพ่อคุณแม่ที่บ้าน ควรนอนเท่าไรถึงพอดี? นอนได้สั้นๆ ตื่นขึ้นมาแล้วหลับต่อไม่ได้ นอนได้ 4 ชั่วโมงน้อยเกินไปรึเปล่า?
วันนี้หมอขอมาแชร์ว่า เพื่อสุขภาพการนอนที่ดีในผู้สูงอายุ ควรนอนกี่ชั่วโมงถึงพอดี?
การนอนหลับให้เพียงพอสำหรับผู้สูงอายุหมายความว่าต้องมีเวลานอนเพียงพอที่สามารถให้ร่างกายและจิตใจพักผ่อนได้อย่างเต็มที่
ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุควรนอนประมาณ 7-9 ชั่วโมงต่อคืน
อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาการนอนที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคลนั้นแตกต่างกัน
เนื่องจากบางคนอาจต้องการเวลานอนน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ตามสภาพร่างกายและรูปแบบชีวิตของตนเอง
ข้อมูลที่สำคัญที่สามารถนำมาประเมินคุณภาพการนอนหลับอย่างละเอียดได้
- ระยะเวลาตั้งแต่เข้านอน จนกระทั่งหลับ (sleep latency)
- จำนวนครั้งที่ตื่นกลางดึก (number of awakening)
- ระยะเวลารวมที่ตื่นกลางดึก (wake after sleep onset)
- ระยะเวลานอนหลับรวม (total sleep time)
- ประสิทธิภาพการนอนหลับ (sleep efficiency)
- จำนวนครั้งที่นอนหลับกลางวัน (nap frequency)
- ระยะเวลารวมที่นอนหลับกลางวัน (nap duration)
ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับมักจะสอบถาม เพื่อนำไปใช้วินิจฉัยปัญหาให้ตรงจุดว่า สาเหตุที่นอนหลับไม่ดี เกิดจากอะไร
อย่างไรก็ตาม มีแบบทดสอบที่ญาติสามารถประเมินปัญหาได้เบื้องต้น ทั้งของตัวผู้ป่วย หรือตัวญาติผู้ดูแลเองว่ากำลังประสบปัญหาการนอนไม่ดีหรือไม่ ครั้งหน้าหมอจะมาแชร์แบบทดสอบที่ทำได้ง่ายๆ ทำเองได้ที่บ้าน ไม่ต้องรอหมอเลยค่ะ
บทความน่าสนใจ
- Do or Don’t การงีบหลับระหว่างวันในผู้สูงอายุ
- แนวทางการป้องกันและดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาการนอนหลับ
- สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของปัญหาการนอนหลับในผู้ป่วยโรคสมอง
บทความโดย
หมอมิ้นท์ พญ.วรัชยา วลัยลักษณาภรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองและระบบประสาท