Do or Don’t Power napping งีบกลางวันในผู้สูงอายุ
การงีบหลับระหว่างวัน หรือเรียกว่า Power napping โดยทั่วไป การนอนกลางวันสามารถมีประโยชน์ต่อสุขภาพของเราได้หลายด้าน ไม่จำเป็นต้องในเฉพาะผู้สูงอายุ ในคนหนุ่มสาวปกติก็สามารถนอนงีบหลับ เพื่อเติมพลังก่อนกลับไปทำงานระหว่างวันได้
ประโยชน์ของการนอนกลางวัน ที่หลายงานวิจัยรองรับ
- ช่วยลดความเหนื่อยล้าและเพิ่มพลัง:
- การนอนกลางวันสามารถช่วยลดความเหนื่อยล้าจากการทำงานในช่วงกลางวัน และเพิ่มพลังให้กับร่างกาย ทำให้คุณสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้มากขึ้น
- ช่วยลดความเครียดและภาวะวิตกกังวล:
- การนอนกลางวันช่วยลดความเครียดและภาวะวิตกกังวลที่เกิดขึ้นในช่วงกลางวัน ทำให้คุณมีความผ่อนคลายและสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ช่วยลดการตื่นระหว่างคืน ในช่วงกลางคืน:
- การนอนกลางวันเป็นการพักผ่อนที่ดีต่อร่างกาย ซึ่งจากงานวิจัยพบว่า สามารถช่วยลดการตื่นตัวระหว่างการนอนในช่วงกลางคืนได้ ทำให้ในช่วงกลางคืนนั้น นอนหลับได้สบาย และหลับได้เต็มอิ่ม เพียงพอตามที่ร่างกายต้องการอีกด้วย
- ช่วยกระตุ้นความจำและการเรียนรู้:
- การวิจัยชี้ให้เห็นว่าการงีบหลับระหว่างวันนั้น ช่วยเพิ่มการผสานหน่วยความจำ ทำให้สามารถจดจำและเรียกคืนข้อมูลที่เรียนรู้ใหม่ได้ดีขึ้น
ดังนั้น การงีบหลับระหว่างวันในผู้สูงอายุสามารถมีประโยชน์ต่อผู้สูงอายุได้ !!
วันนี้หมอขอมาแนะนำ 2 เทคนิคสำหรับผู้ที่ต้องการงีบหลับระหว่างวัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่ทำให้เกิดปัญหาการนอนช่วงกลางคืนให้อ่านกันค่ะ
2 เทคนิค สำหรับคนที่อยากนอนกลางวัน
1. ผู้สูงอายุควรใช้เวลาในการงีบที่เหมาะสมและ ไม่นานเกิน 30-60 นาทีต่อวัน
- การงีบหลับนานเกินไปอาจส่งผลเสียต่อการนอนหลับในช่วงกลางคืน กลายเป็นนอนไม่หลับในช่วงกลามคืน หรือนอนหลับๆตื่นๆในช่วงกลางคืนได้
2. หลีกเลี่ยงการงีบหลังจากเวลาบ่าย 3 โมงเย็น
- ควรหลีกเลี่ยงการงีบหลังจากเวลาบ่าย 3 โมงเย็นเพราะอาจส่งผลกระทบต่อวงจรการนอนในช่วงกลางคืน ทำให้นอนช่วงกลางคืนไม่หลับ และส่งผลเสียต่อสุขภาพอื่น ๆ ของผู้สูงอายุตามมา
ไม่แนะนำให้เลือกทานยานอนหลับก่อนเป็นอันดับแรก เพราะการรักษาที่สำคัญคือการหาสาเหตุและปรับพฤติกรรมการนอนก่อนค่ะ
ในกรณีที่ผู้สูงอายุมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับควรพูดคุยกับแพทย์ประจำตัว หรือแพท์ที่เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ เพื่อขอคำแนะนำและการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมนะคะ
บทความน่าสนใจ
-
9 วิธีเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต เพื่อสุขภาพการนอนที่ดีขึ้น
-
ปัญหาการนอนหลับที่พบในผู้ป่วยโรคสมอง (รวมภาค)
-
เช็ครายชื่อยาที่ทำให้ผู้สูงอายุ “นอนไม่หลับ หลับไม่ดี”
บทความโดย
หมอมิ้นท์ พญ.วรัชยา วลัยลักษณาภรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองและระบบประสาท