ปัญหาการนอนหลับในผู้ป่วยโรคสมอง มีกี่แบบ?

วันนี้เราจะมาพูดคุยกันเกี่ยวกับปัญหาการนอน เพื่อให้ญาติสามารถสังเกตความผิดปกติ และบันทึกไปแจ้งคุณหมอประจำตัวได้

ปัญหาการนอนหลับในผู้ป่วยโรคสมอง

ปัญหาการนอนหลับที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มีโรคสมอง/ ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม อ้างอิงจาก The International Classification of Sleep Disorder (ICSD-3) แบ่งเป็น 6 ประเภท ได้แก่

ปัญหาการนอนไม่หลับ 
    • การนอนหลับยาก: คือการใช้เวลานานกว่า 30 นาทีหลังจากหลับตานอน สังเกตได้จากผู้ป่วยจะพลิกตัวไปมา หลับตาแต่สมองยังไม่หลับ
    • การตื่นกลางคืนบ่อยครั้ง: คือการตื่นขึ้นมากกว่า 3 ครั้งในรอบหนึ่งคืน
      ความผิดปกติของการหายใจที่เกี่ยวกับการนอนหลับ 
      • อาการนอนกรน
      • การหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งทำให้การหลับไม่ต่อเนื่อง มีสะดุ้งตื่น ส่งผลให้เหนื่อยเพลียตอนเช้าตื่นนอน ช่วงกลางวันตามมา
        การง่วงและนอนหลับมากในช่วงกลางวัน
        • ความรู้สึกเหนื่อยล้าและไม่กระตือรือร้นในช่วงเช้า และการผลอยหลับได้ง่ายในช่วงบ่าย โดยในผู้สูงอายุมักเป็น การนอนหลับมากผิดปกตแบบทุติยภูมิ (secondary hypersomnia) ที่มีสาเหตุจากปัญหาสุขภาพอื่นหรือ จากการนอนหลับไม่เพียงพอในช่วงกลางคืน
        ความผิดปกติของวงจรการนอนหลับ 
        • เป็นการเปลี่ยนแปลงของช่วงเวลาการหลับตื่น ภาวะนี้มักจะพบได้ในผู้สูงอายุ โดยมีลักษณะการนอนที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้สูงอายุจะเข้านอนเร็ว และตื่นเช้าขึ้นกว่าเมื่อสมัยหนุ่มสาว
        ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมในระหว่างนอนหลับ 
        • การละเมอพูดขณะหลับ 
        • การเดินขณะหลับ
        • การปัสสาวะขณะหลับ
        • การฝันร้าย
          การเคลื่อนไหวผิดปกติ ระหว่างนอนหลับ 
          • แขน ขากระตุกขณะหลับ
          นอนกรน ความจำเสื่อม

          การสังเกตว่าญาติ หรือผู้ป่วยที่เราดูแล มีปัญหาการนอนหลับแบบไหน? 

          นับเป็นตัวช่วยอย่างยิ่งที่จะทำให้สามารถสื่อสารกับคุณหมอประจำตัวของผู้ป่วยได้ เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและตรงจุดมากขึ้น 

          บทความน่าสนใจ 

           

          บทความโดย

          หมอมิ้นท์ พญ.วรัชยา วลัยลักษณาภรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองและระบบประสาท