4 สาเหตุ! ทำไมผู้สูงวัยถึงปัสสาวะรดที่นอน?

การปัสสาวะรดที่นอนเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงวัยและผู้ป่วยติดเตียง ปัญหานี้มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีของผู้ป่วย โดยส่งภาวะแทรกซ้อนทางการแพทย์ เช่นปัญหาการติดเชื้ออื่นๆที่ไม่คาดคิดตามมาได้ จึงเป็นเรื่องสำหรับผู้ดูแลผู้สูงวัยและผู้ป่วยติดเตียงที่จะเข้าใจและเตรียมรับมือกับปัญหานี้

ทำไมผู้สูงวัยถึงปัสสาวะรดที่นอน

การปัสสาวะรดที่นอนในวัยผู้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง

เกิดได้จากหลายสาเหตุ

  • เกิดจากการกลั้นไม่อยู่

    • เนื่องจากการควบคุมยับยั้งการปัสสาวะนั้นผิดปกติไป โดยสามารถเกิดได้จากโรคทางสมอง ไขสันหลัง และระบบประสาทส่วนปลาย ที่มีหน้าที่ยับยั้งการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ การควบคุมหูรูดทางเดินปัสสาวะ ไม่ได้ปัสสาวะในสถาณการณ์ที่ไม่เหมาะสม เมื่อสูญเสียการควบคุมไปจึงกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปล่อยปัสสาวะออกมานั่นเอง 
  • เกิดจากการไม่รู้ตัวว่าปวดปัสสาวะ

    • ทำให้ปล่อยราดออกมาโดยไม่ตั้งใจ
    • ผู้ป่วยที่สูญเสียการรับความรู้สึกปวดของกระเพาะปัสสาวะ จะไม่รับรู้ว่าตนเองปวดปัสสาวะเลย แต่ปัสสาวะที่ค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ เมื่อมากเกินกำหนด จะทำให้ปล่อยปัสสาวะเล็ดออกมา อาจโดยผู้ป่วยไม่รู้ตัว และเกิดเป็นกลิ่นไม่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุนั่นเองค่ะ 
  • เกิดจากปัญหาข้อจำกัดทางการเคลื่อนไหว

    • ทำให้ไปเข้าห้องน้ำไม่ทัน
      • ลุกยืนจากเตียงลำบาก
      • เดินช้า 
      • กลัวล้ม
      • ไม่มีผู้ดูแลช่วยพยุง เป็นต้น
  • เกิดจากความเกรงใจลูกหลาน 

    • หลังจากที่หมอได้พูดคุยกับผู้ป่วยหลายท่านที่มีปัญหาปัสสาวะเล็ด/ราดนั้น พบว่าผู้ป่วยบางส่วน รู้ตัวว่าปวด และสามารถกลั้นปัสสาวะได้ (ไม่ใช่สาเหตุข้อ1-2 ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น) แต่หลายท่านที่มีข้อจำกัดด้านการเคลื่อนไหว ไม่สามารถลุกไปปัสสาวะเองได้ ตอนกลางคืน เมื่อปวดปัสสาวะจึงไม่อยากปลุกลูกหลาน เพราะเกรงใจ จึงนอนทนปวดปัสสาวะหลับไป สุดท้ายตื่นเช้ามาจึงพบว่ามีปัสสาวะรดที่นอนไปเสียแล้วนั่นเองค่ะ 

ปัญหากลิ่นปัสสาวะ กลิ่นฉี่ กลิ่นไม่พึงประสงค์ในห้องนอนผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง เป็นปัญหาที่ทำให้บ้านบรรยากาศไม่ดี กลิ่นไม่สะอาด ไม่น่าพักอาศัย 

เนื่องจากที่โรงพยาบาลมีการฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพ การรักษาความสะอาดที่เป็นระบบ น้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่ได้มาตรฐานทำให้สามารถกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์เหล่านี้ได้ แต่เราที่ดูแลผู้ป่วยเองที่บ้านก็สามารถกำจัดกลิ่นอับเหม็นพวกนี้ได้เช่นกัน 

อย่างไรก็ตาม อันดับแรก หมอขอแนะนำให้ ลองพิจารณาสาเหตุ ดัง 4 ข้อข้างต้นที่พบบ่อยดูก่อน หากพบสาเหตุ ญาติผู้ดูแลจะได้จัดการกับปัญหาได้ตรงจุด

หากผู้ป่วยไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ หรือไม่สามารถบอกได้ว่าปวดปัสสาวะ อาจใช้วิธี ใส่แพมเพิส และกำหนดเวลาเปลี่ยนแพมเพิสตามรอบเวลา เช่น ทุก 6 ชั่วโมง ก่อนเข้านอน เป็นต้น ปัสสาวะจะได้ไม่เปียกแพมเพิสและส่งกลิ่นเหม็นอับติดตัวผู้ป่วย และห้องนอน ส่งกลิ่น สร้างบรรยากาศที่ไม่พึงประสงค์ในบ้านค่ะ   

อ่านเพิ่มเติม

 

บทความโดย

หมอมิ้นท์ พญ.วรัชยา วลัยลักษณาภรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองและระบบประสาท