ข้อควรระวังในการให้อาหารทางสายยาง
การให้อาหารทางสายที่ผ่านจมูกสู่กระเพาะอาหาร (Nasogastric tube) เป็นวิธีที่ง่าย ใชสะดวกวิธี แต่ต้องฝึกทำ และเรียนรู้ข้อควรระมัดระวังต่างๆ โดยคาดว่าผู้ป่วยจะสามารถกลับมารับประทานอาหารทางปากตามปกติ การให้อาหารทางสายยางนั้นเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ
ข้อควรระวังในการให้อาหารทางสายยาง
-
อย่าลืม! ทดสอบตำแหน่งของสายว่าอยู่ในกระเพาะอาหารก่อนให้อาหารทุกครั้ง
-
ระมัดระวังไม่ให้ลมผ่านเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยทางสายยางให้อาหารหรือผ่านเข้าได้น้อยที่สุด เพื่อป้องกันภาวะท้องอืดในผู้ป่วย
-
การให้อาหารหยดจากขวดมักมีปัญหาเรื่องการแยกชั้นจากน้ำ และอุดตันบริเวณข้อต่อ ผู้ดูแลต้องหมั่นตรวจสอบอัตราการไหลและเขย่าขวดบรรจุเป็นระยะ
-
การเปลี่ยนสายให้อาหาร ตามปกติสายให้อาหารที่ใช้กับผู้ป่วยมักจะใช้ได้นานประมาณ 1 เดือนหรือน้อยกว่านั้น เมื่อเห็นว่าสายขุ่นสกปรก หรือมีอาหารอุดตันทำให้อาหารไม่สามารถไหลลงไปได้หรือสายให้อาหารรั่ว(สังเกตจากมีน้ำหรือเศษอาหารซึมออกมาในช่วงให้อาหาร/ให้ยา)
-
จำเป็นต้องเปลี่ยนสายให้อาหารใหม่เสมอ ไม่ต้องรอจนถึง 1 เดือน
-
จัดให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูงระหว่างให้อาหารและภายหลังให้อาหารอย่างน้อย 30 นาทีเพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของอาหารขึ้นมาทางจมูก เสี่ยงต่อการสำลกอาหารและติดเชื้อของปอด
บทความน่าสนใจ
- อาหารทางสายยาง มีกี่ประเภท จะเลือกใช้อย่างไร ?
- Q&A ทำไมผู้ป่วยรับอาหารทางสายยางแล้วถึงอาเจียนบ่อย?
- เปลี่ยนสูตรอาหารทางสายยางแล้ว "ท้องเสีย" เกิดจากอะไร?
- เปรียบเทียบการให้อาหารทางสายยาง “ผ่านหน้าท้อง VS ผ่านทางจมูก”
บทความโดย
หมอมิ้นท์ พญ.วรัชยา วลัยลักษณาภรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองและระบบประสาท