เราจะทราบได้อย่างไรว่าปลายสายยางให้อาหาร-อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม?

การให้อาหารทางสายยาง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะถูกป้อนเข้าไปในกระเพาะอาหารเพื่อให้สามารถใช้อาหารที่มีภาวะไฮเปอร์โทนิกหรือเข้มข้นสูง อัตราการให้อาหารที่สูงขึ้น และการป้อนยาแทนการทานเองทางปาก เนื่องจากความจำเป็นได้ 

เราจะทราบได้อย่างไรว่าปลายสายยางให้อาหาร-อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม

การใส่สายยางให้อาหาร (สาย NG หรือทางการแพทย์เรียกว่า NG tube) สามารถใส่ที่หอผู้ป่วยโดยเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์หรือพยาบาลที่มีประสบการณ์ แต่หากผู้ป่วยกลับบ้านเป็นการดูแลระยะยาวแล้ว จึงมีความสำคัญที่ผู้ดูแล จะสามารถฝึกใส่สายยางให้อาหารเองได้ หรือสามารถทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายสายยางเองได้ที่บ้าน

รู้หรือไม่ : ผู้ดูแลควรยืนยันตำแหน่งปลายสายของ NG tube ทุกครั้งที่ใช้ป้อนหรือให้ยา 

จากประสบการณ์ของหมอ ระหว่างนอน ผู้ป่วยอาจดึงหรือเกี่ยวสาย หลายครั้งทำให้สายให้อาหารผู้ป่วยเลื่อน การฟีดอาหารลงไปเลยทันทีโดยไม่ตรวจสอบก่อน เพิ่มความเสี่ยงในการสำลักอาหารได้ อย่างไรก็ตาม ไม่จำเป็นต้องเอ็กซเรย์ตราบใดที่ความยาวภายนอกของท่อยังคงไม่เปลี่ยนแปลงและท่อดูดมีค่า pH <5.3 

เราจะทราบได้อย่างไรว่าปลายสายยางให้อาหารอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ?

  • ในเมืองไทย การตรวจสอบความเป็นกรดของน้ำที่ดูดขึ้นมาได้ทางสายยาง เพื่อวัตถุประสงค์ตรวจสอบตำแหน่งปลายสายอาหารนั้นยังไม่เป็นที่แพร่หลาย
  • อย่างไรก็ตาม การทดสอบค่าความเป็นกรดของน้ำย่อย (pH) จะไม่มีประโยชน์หากผู้ป่วยได้รับยาลดกรด เช่น omeprazole, rabeprazole, Lansoprazole, Alum milk เป็นต้น

ดังนั้นวิธีที่แพทย์ส่วนใหญ่แนะนำ ในการตรวจสอบตำแหน่งปลายสายยางให้อาหารว่า อยู่ภายในกระเพาะ หรือไม่ ?

การตรวจสอบตำแหน่งปลายสายยางให้อาหารว่า อยู่ภายในกระเพาะ

คือ การตรวจสอบตำแหน่งของท่อโดยการฉีดอากาศผ่านกระบอกไซริ้งค์เข้าไปและฟังฟองอากาศด้วยหูฟังทางการแพทย์นั้นเอง

ส่วนการใช้มือจับบนหน้าท้องผู้ป่วยเพื่อรับความรู้สึกของลมที่วิ่งผ่านด้านใต้นั้น ไม่น่าเชื่อถือเท่าที่ควร

หากทดลองดูดอาหารขึ้นมาก่อนให้อาหารมื้อถัดไป
สังเกตว่าดูดขึ้นมายาก จะแก้ไขอย่างไร ?

สาเหตุเกิดจากปลายสายมักติดอยู่กับผนังด้านในของกระเพาะอาหารผู้ป่วย 

วิธีแก้ไข

1.ให้ลองเปลี่ยนตำแหน่งของผู้ป่วย เช่น ตะแคงตัวเล็กน้อย 
2.หากมั่นใจว่าสายไม่เคลื่อน น่าจะอยู่ภายในกระเพาะอาหารแน่นอน ให้ลองฟีดน้ำเข้าไปในสายประมาณ 20-30 มิลลิลิตร เพื่อให้ปลายสายหลุดออกจากผนังกระเพาะอาหารที่ติดอยู่ได้ 
3. การเลื่อนสายขึ้นเล็กน้อยอาจช่วยได้เช่นกัน 

เพียงเท่านี้ ญาติผู้ดูแลก็คงสามารถมั่นใจในการให้อาหารทางสายยางผู้ป่วยด้วยตนเอง อย่างปลอดภัยได้มากขึ้น มั่นใจได้ว่าผู้ป่วยจะได้รับสารอาหารที่เพียงพอ และ ลดอัตราการเกิดการสำลักอาหารเช่นกัน

 

บทความน่าสนใจ 


บทความโดย

หมอมิ้นท์ พญ.วรัชยา วลัยลักษณาภรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองและระบบประสาท