วิธีการวินิจฉัยปัญหาการนอนหลับด้วยตนเองที่บ้านอย่างง่าย เช็คเลย!

วันนี้หมอขอมาแชร์ข้อมูลดีดี เกี่ยวกับวิธีการวินิจฉัยด้วยตนเองที่บ้านอย่างง่าย ว่าผู้ป่วยมีปัญหาการนอนหลับหรือไม่ (พร้อมแบบทดสอบ)

  • การนอนหลับให้เพียงพอสำหรับผู้สูงอายุหมายความว่าต้องมีเวลานอนเพียงพอที่สามารถให้ร่างกายและจิตใจพักผ่อนได้อย่างเต็มที่
    • ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุควรนอนประมาณ 7-9 ชั่วโมงต่อคืน
    • อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาการนอนที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคลนั้นแตกต่างกัน เนื่องจากบางคนอาจต้องการเวลานอนน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ตามสภาพร่างกายและรูปแบบชีวิตของตนเอง 
วิธีการวินิจฉัยปัญหาการนอนหลับด้วยตนเองที่บ้านอย่างง่าย
  • ข้อมูลที่สำคัญที่สามารถนำมาประเมินคุณภาพการนอนหลับอย่างละเอียดได้ 
    • ระยะเวลาตั้งแต่เข้านอน จนกระทั่งหลับ (sleep latency)
    • จำนวนครั้งที่ตื่นกลางดึก (number of awakening)
    • ระยะเวลารวมที่ตื่นกลางดึก (wake after sleep onset)
    • ระยะเวลานอนหลับรวม (total sleep time)
    • ประสิทธิภาพการนอนหลับ (sleep efficiency)
    • จำนวนครั้งที่นอนหลับกลางวัน (nap frequency)
    • ระยะเวลารวมที่นอนหลับกลางวัน (nap duration)
ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับมักจะสอบถาม เพื่อนำไปใช้วินิจฉัยปัญหาให้ตรงจุดว่า สาเหตุที่นอนหลับไม่ดี เกิดจากอะไร  

    อย่างไรก็ตาม มีแบบทดสอบที่ญาติสามารถประเมินปัญหาได้เบื้องต้น ทั้งของตัวผู้ป่วย หรือตัวญาติผู้ดูแลเองว่ากำลังประสบปัญหาการนอนไม่ดีหรือไม่?

    วันนี้เรามาวัดระดับปัญหา “นอนไม่หลับ” กันเถอะ ! มาเริ่มกันเลย !

    Q modified mayo sleep test 1
    Q modified mayo sleep test 2

     

    ถ้าใครกำลังมีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับ แบบทดสอบนี้จะช่วยให้เรารู้ได้ว่า ตัวเราหรือญาติที่เรารักมีอาการนอนไม่หลับรุนแรงเพียงใด และ อ่านต่อเกี่ยวกับ คำแนะนำในการปรับปรุงการนอนให้ดีขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     

    บทความน่าสนใจ

    บทความโดย

    หมอมิ้นท์ พญ.วรัชยา วลัยลักษณาภรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองและระบบประสาท