ความรู้เบื้องต้น สำหรับมือใหม่ ให้อาหารทางสายยาง

การให้อาหารทางสายยางให้อาหาร (Enteral Tube Feeding) เป็นการให้อาหารที่มีลักษณะเป็นของเหลวเข้าสู่ระบบทางเดิน อาหาร โดยผ่านทางท่อสายยาง โดยทั่วไปในผู้ใหญ่ จะให้อาหารทาง สายให้อาหารทางจมูก หรือเรียกว่า เอ็นจี ทิ้วบ์ (Nasogastric Tube)(NG tube) 

ความรู้เบื้องต้น สำหรับมือใหม่ ให้อาหารทางสายยาง

การใส่สายยางให้อาหารทางจมูก เป็นตำแหน่งที่นิยมใส่มากที่สุด ใส่ง่าย โดยนิยมใช้ในผู้ป่วยวางแผนการให้อาหารทางสายยางไม่นาน อาจใส่ไว้ในระยะแรกหลังออกจากโรงพยาบาล เพื่อป้องกันปัญหาการสำลัก โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืน จากโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น 

สำหรับผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพปัญหาของจมูก เช่น ได้รับการบาดเจ็บ หรือในผู้ป่วยเด็ก และทารก แพทย์อาจแนะนำให้ใส่เป็นสายให้อาหารทางปากไปก่อนชั่วคราว เรียกว่า โอจี ทิ้วบ์ (Orogastric Tube) (OG tube)

สำหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องได้รับอาหารทางสายยางเป็นระยะยาว หมอขอแนะนำให้ศึกษาทางเลือกการให้อาหารทางหน้าท้อง เป็นทางเลือกที่แนะนำ

เนื่องจากลดปัญหาการเคลื่อนหลุดของสายให้อาหารทางจมูกหรือปาก ระยะเวลาการใช้อยู่ได้นานกว่า ไม่ต้องเปลี่ยนสายบ่อยเท่าสายให้อาหารทางจมูกหรือปาก รวมทั้งมีการศึกษาที่พบว่าการให้อาหารทางหน้าท้องสามารถลดอัตราการสำลักได้ดีกว่าอีกด้วย ซึ่งจะได้กล่าวในบทความหน้าอย่างละเอียดต่อไปนะคะ 

เริ่มต้น มาทำความรู้จัก ส่วนประกอบทั้งหมดโดยภาพรวม ในการให้อาหารทางสายยางกันก่อนค่ะ 

เลือกอ่าน...

  • สายให้อาหารหรือสายยางให้อาหาร(Feeding tube) 
  • อาหารทางสายให้อาหาร
  • เครื่องดริปอาหาร 

    สายให้อาหาร (Feeding tube) 

    • อธิบายโดยง่ายคือ สายยางยาว ขนาดความยาว 50-60 เซนติเมตร ที่สามารถโค้งงอได้ ใส่เข้าทางรูจมูกผ่านคอลงไปถึงกระเพาะอาหาร มีเทปติดไว้ที่จมูกเพื่อกันเคลื่อนเข้าออก
    • โดยเวลาหาซื้อตามร้านขายอุปกรณ์การแพทย์ทั่วไป ร้านขายจะถามถึงขนาดสายยาง ว่าขนาดเท่าไหร่ 

    ** ปัญหาที่พบบ่อย และทำให้ญาติต้องเสียเวลากลับมารพ.หลายๆครั้งพบว่า ญาติผู้ดูแลไม่ทราบว่า สายยางให้อาหารที่ใส่นั้นขนาดเท่าไหร่ ไปหาซื้อ เพื่อเปลี่ยนตามกำหนดไม่ได้ **

    ดังนั้น ก่อนรับผู้ป่วยกลับบ้านไป อย่าลืม สอบถามขนาดสายยาง หรือ สี (สายยางแต่ละขนาดมักมีสีประจำ ที่เป็นสากล สามารถบอกสีแทนขนาดได้ค่ะ) ของสายยางให้อาหารก่อนกลับบ้านด้วย 

    • โดยควรเปลี่ยนสาย NG tubeและเปลี่ยนรูจมูก สลับข้างใส่สาย ทุก 2-4 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการกดทับผนังกั้นจมูก

      ตารางแสดงขนาดของสายยางที่เหมาะสมในแต่ละวัย

      อายุ

      ขนาด 

      ทารกแรกเกิดที่น้า หนกันอ้ยกวา่ ปกติ 

      5-6 Fr

      ทารกแรกเกิด 

      6-8 Fr 

      เด็ก 

      8-12 Fr 

      ผใู้หญ่ 

      12 Fr  >> สีขาว

      14 Fr  >> สีเขียว

      16 Fr  >> สีเขียวส้ม  

      18 Fr  >> สีแดง

      ขนาดของสายยางให้อาหารผู้ป่วยที่เหมาะสม

      อาหารทางสาย (Enteral Nutrition)

      หมายถึงอาหารที่มีลักษณะเป็นของเหลวสามารถไหลผ่านสายให้อาหารเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วยได้ โดยให้พลังงานและสารอาหารเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกายผู้ป่วย

      อาหารทางสายให้อาหารที่ใช้อยู่ในโรงพยาบาล แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ

      อาหารทางสายยางมีกี่ประเภท
      1. ชนิดสูตรน้ำนมผสม (Milk-Base Formula)
      • สูตรนี้มีน้ำนมและผลิตภัณฑ์จากนมเป็นส่วนประกอบสำคัญ 
      • ในทางปฏิบัติสูตรน้ำนมผสมนี้จะเตรียมให้กับผู้ป่วยเด็กเท่านั้น หมอไม่แนะนำให้อาหารสูตรนี้สำหรับผู้ป่วยผู้ใหญ่ เนื่องจากผู้ป่วยผู้ใหญ่มักขาดน้ำย่อยแลคเตส และมักทำให้ท้องเสียได้
      1. ชนิดสูตรอาหารปั่นผสม (Blenderized Feeding Formula) ในปัจจุบันฝ่ายโกชนาการ แต่ละโรงพยาบาลจะเป็นผู้กำหนดสูตรอาหารปั่นผสมขึ้นใช้เองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วยแต่ละบุคคล สูตรอาหารปั่นผสมนี้จะยึดหลักการใช้อาหารหลัก 5 หมู่ เป็นส่วนผสมในการปรุงปั่น
      อาหารปั่นผสม ผู้ป่วยติดเตียง
      • อาหารปั่นผสมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

      2.1. อาหารปั่นผสมที่ให้ทางสายให้อาหาร (Blenderized tube feeding diet) อาหารชนิดนี้ให้แก่ผู้ป่วยโดยผ่านทางสายให้อาหาร

      2.2. อาหารปั่นผสมชนิดดื่ม (Blenderized diet for use, oral food supplement) สำหรับผู้ป่วยที่รับประทานอาหารทางปากได้น้อย แพทย์จะสั่งอาหารเสริมด้วยอาหารเสริมสูตรจำเพาะ โดยมักเป็นชนิดดื่มทางปากได้ หรือในลักษณะซุปข้นที่มีสารอาหารเพิ่มเติมจากมื้ออาหารปกติ โดยเป็นสูตรอาหารสำเร็งที่มีสารอาหารใกล้เคียงกับที่ร่างกายต้องการ สะดวกในการใช้ แต่ราคาจะแพงกว่าสูตรอาหารผสมที่ทำขึ้นเอง

      • ข้อเสียของแบบนี้ คือ 1. ผู้ดูแลต้องยุ่งยากในการเตรียม 2. การเตรียมอาหาร ต้องจัดเตรียมสำหรับแต่ละวัน และใช้ให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง เนื่องจาก **การเก็บไว้นานอาจทำให้อาหารนั้นมีการติดเชื้อและทำให้เกิดอาการท้องเสียได้**
      1. ชนิดสูตรอาหารสำเร็จ (Commercial Formula)
      เป็นสูตรอาหารที่มีขายในท้องตลาดสูตรอาหารสำเร็จที่ใช้กันในโรงพยาบาลมีหลายชนิดหลากหลายยี่ห้อ เช่น lsocal Ensure Pan-enteral Blendara Glucena Nutren

      มีทั้งชนิดที่เป็นของเหลว และเป็นผง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับผู้ป่วย 

      • การเลือกใช้ยี่ห้อใด สูตรใด หมอแนะนำให้ผรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการในครั้งแรกสุด เพื่อเลือกใช้ให้เหมาะ ตรงกับโรคประจำตัวของผู้ป่วยค่ะ 

      อ่านต่อ 

      เครื่องดริปอาหาร

      ญาติผู้ป่วยหลายท่านมาสอบถามหมอว่า จำเป็นต้องซื้อเครื่องให้อาหารทางสายยางหรือ ที่เรียกกันสั้นๆว่า Feeding pump หรือไม่ วันนี้หมอจะมาแชร์ เพื่อประกอบการตัดสินใจ ให้ลองอ่านกันค่ะ  

      • วิธีดั้งเดิม
        • ในการให้อาหารผู้ป่วยทางสายยางนั้น จะใช้วิธีแขวนถุงอาหารแล้วปล่อยไหลตามแรงโน้มถ่วง ซึ่งการปล่อยไหลตามแรงโน้มถ่วง โดยทั่วไปมักจะไหลลงมาหมดภายใน 15-30 นาที ขึ้นอยู่กับความหนืด-เหลวของอาหารปั่นนั้นๆ ความสูงของการแขวนถุงอาหาร ปริมาณอาหารทั้งหมดที่ฟีด เป็นต้น
      • ข้อดีของวิธีนี้
        • คือสะดวก และประหยัดค่าอุปกรณ์
        • ไม่ต้องซื้อเครื่องหรือสายข้อต่อเพิ่มเติมในการดริปอาหารฟีดแก่ผู้ป่วย
      • ข้อเสียของวิธีนี้
        • แม้จะสะดวกและประหยัด อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยหลายท่านประสบภาวะท้องอืด อาเจียนบ่อยหลังได้อาหารปั่นทางสายยาง ส่วนหนึ่งเกิดจาก อาหารที่ได้รับนั้น ลงสู่กระเพาะเร็วเกินไป กระเพาะไม่สามารถย่อยและดูดซึมสารอาหารได้ทัน จึงเกิดการท้น และสำลัก อาเจียนอาหารที่เพิ่งได้รับเข้าไปนั้นออกมา 

      ปัจจุบันได้มีการพัฒนาวิธีการให้อาหารทางสายยางที่ดีขึ้น สามารถกำหนดอัตราการไหลของอาหารปั่นได้ กำหนดเวลา/ปริมาณ โดยไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญของผู้ดูแลมากนัก

      • เครื่องให้อาหารทางสายยาง เป็นเครื่องที่สามารถควบคุมความเร็วและคุมปริมาณอาหารให้แก่ผู้ป่วยได้ การให้ในอัตราที่ช้าลง แบบกำหนดได้ เช่น ดริปอาหารใน 2 ชั่วโมงนั้น จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาท้องอืด อาเจียน สำลักบ่อยหลังได้อาหารปั่นทางสายยาง
        • เครื่องให้อาหารทางสายยางสามารถลดอาการเหล่านี้ได้ดีกว่าการให้อาหารทางสายยางโดยแขวนถุงอาหารแล้วปล่อยไหลตามแรงโน้มถ่วง เมื่อผู้ป่วยได้รับอาหารเต็มที่ตามที่แพทย์กำหนด ไม่เหลือค้าง / อาเจียน ออกมาเสียทิ้ง ก็จะทำให้ผู้ป่วยได้รับคุณค่าทางโภชนาการที่ดีขึ้น 
        • นอกจากนี้ การใช้เครื่องให้อาหารทางสายยาง ยังลดระยะเวลาการดูแลผู้ป่วย ให้ญาติได้มีเวลาพักผ่อนมากขึ้น หากนับแล้วในการให้อาหาร 4 มื้อ มื้อละ 2 ชั่วโมง ก็นับว่าคุ้มค่าในการประหยัดเวลาการเฝ้าผู้ป่วยไปได้ถึง 8 ชั่วโมงเลยทีเดียวค่ะ
      เครื่องดริปให้อาหารทางสายยาง

      การให้อาหารทางสายยางมีขั้นตอนและวิธีการที่ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาล เพื่อให้การให้อาหารผ่านสายยางเป็นไปอย่างถูกต้อง ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ

      ญาติบางท่าน อาจคิดว่าการให้อาหารทางสายยาง ต้องมาใช้เครื่องให้อาหาร จะทำให้ผู้ป่วยไม่สุขสบาย ไม่สะดวก หรือมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี แต่จริงๆแล้ว การให้อาหารทางสายยางเป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่จำเป็น เพื่อช่วยในการฟื้นฟูสุขภาพ และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนจากภาวะทุพโภชนาการได้

      ดังนั้น ผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลไม่ควรมีความกังวล ว่าการให้อาหารทางสายยางจะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตต่ำลง แต่อยากให้มองว่าเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีที่สุด

      บทความน่าสนใจ

       

      บทความโดย

      หมอมิ้นท์ พญ.วรัชยา วลัยลักษณาภรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองและระบบประสาท